เมนู

3. อุปกิเลสสูตร



อุปกิเลสของทอง 5 อย่าง


[467] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของทอง 5 อย่างนี้ เป็น
เครื่องทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ
และให้ใช้การไม่ได้ดี อุปกิเลส 5 อย่างเป็นไฉน .
[468] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล็กเป็นอุปกิเลสของทอง ทำทอง
ไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การ
ไม่ได้ดี
[469] โลหะ เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม้ให้อ่อน ฯลฯ
[470] ดีบุก เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ
[471] ตะกั่ว เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ
[472] เงิน เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้
ควรแก้การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม้ได้ดี.
[473] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของทอง 5 อย่างนี้แล เป็น
เครื่องทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ
และให้ใช้การไม่ได้ดี.
[474] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสของ
จิต 5 อย่างนี้ เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม้ให้ผุดผ่อง
ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดี เพื่อความสิ้นอาสวะ.
อุปกิเลส 5 อย่างเป็นไฉน

[475] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะเป็นอุปกิเลสของจิต เป็น
เครื่องทำจิตไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป
และไม้ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ.
[476] พยาบาทเป็นอุปกิเลสของจิต เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้อ่อน
ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม้ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม้ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อ
ความสิ้นอาสวะ.
[477] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของจิต 5 อย่างนี้แล เป็น
เครื่องทำจิตไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป
และไม่ให้ตั้งมั่น ด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ.
[478] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 เหล่านี้ ไม่เป็นธรรมกั้น
ไม้เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ
โพชฌงค์ 7 เป็นไฉน.
[479] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นธรรมกั้น
ไม่เป็นธรรมห้าม ไม้เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ ฯลฯ
[480] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม
ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาวิมุตติ.
[481] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 เหล่านี้แล ไม่เป็นธรรม
กั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ
จบอุปกิเลสสูตรที่ 3

นีวรณวรรควรรณนาที่ 4



อรรถกถาอุปกิเลสสูตร



พึงทราบวินิจฉัยใน อุปกิเลสสูตรที่ 3 แห่งนีวรณวรรคที่ 4
บทว่า น จ ปภสฺสรํ ได้แก่ ไม่มีรัศมี. บทว่า ปภงฺคุ จ ได้แก่
มีการแตกทำลายเป็นสภาพ. บทว่า อโย ได้แก่ โลหะมีสีดำ. อธิบายว่า
เว้นของ 4 อย่าง ที่กล่าวไว้ในพระสูตรนี้ ที่เหลือชื่อว่า โลหะ บทว่า สชฺฌุํ
ได้แก่ เงิน. บทว่า จิตฺตสฺส ได้แก่ กุศลจิตที่เป็นไปในภูมิสี่. ถามว่า
อุปกิเลสย่อมมีแก่จิตในภูมิสาม จงยกไว้ก่อน อุปกิเลสของโลกุตรจิตมีได้
อย่างไร ตอบว่า ธรรมเหล่าใด ย่อมไม่ให้อารมณ์อันเลิศเกิดขึ้น ธรรม
เหล่านั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นอุปกิเลสของโลกิยจิตบ้าง ของโลกุตรจิตบ้าง
ย่อมมี. บทว่า ปภงฺคุ จ ความว่า มีความแตกเป็นสภาพ โดยเข้าถึงความ
เป็นจุณวิจุณไปในอารมณ์.
บทว่า อนาวรณา ได้แก่ ชื่อว่า อนาวรณา เพราะอรรถว่าไม่กั้น
กุศลธรรม. บทว่า อนีวรณา ได้แก่ ชื่อว่า อนีวรณา เพราะอรรถว่าไม่
ปกปิด บทว่า เจตโส อนุปกฺกิเลสา ได้แก่ ไม่เป็นอุปกิเลสของจิตใน
ภูมิสี่.
จบอรรถกถาอุปกิเลสสูตรที่ 3